top of page
การบริหารความเสี่ยง

กรอบการบริหารความเสี่ยง 9 ด้าน ได้แก่

  1. Product Program  การจัดทำ Product Program ที่กำหนดถึง: ลักษณะการทำธุรกรรม กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย อำนาจอนุมัติ/วงเงิน และความเสี่ยงพร้อมทั้งการบรรเทาความเสี่ยงนั่น เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง และคณะกรรมการบริษัทเพื่ออนุมัติบังคับใช้

  2. คณะอนุกรรมการสินเชื่อและการลงทุน (กสล.)  คณะอนุกรรมการที่มีหน้าที่ในการพิจารณาอนุมัติ ทบทวน เปลี่ยนแปลง วงเงิน ตลอดจนพิจารณา หลักเกณฑ์ เงื่อนไข วิธีการที่เกี่ยวข้องในการให้สินเชื่อ การลงทุน และธุรกรรมอื่นๆ

  3. การติดตาม (Monitoring)  การติดตามความเสี่ยงด้านต่างๆ ตามกรอบที่กำหนดไว้ สำหรับธุรกรรมสินเชื่อทั้งด้านเงินและหลักทรัพย์ รวมถึงการลงทุนของบริษัท ทั้งนี้กรอบที่ใช้ในการติดตามนั้นจะเป็นไปตามที่กำหนดอยู่ภายใต้ Product Program หรือระเบียบปฏิบัติสำหรับแต่ละธุรกรรม

  4. Stress Test  ทำการทดสอบเพื่อประมาณการผลกระทบ โดยกำหนดให้มีการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยที่มีผลต่อพอร์ตสินเชื่อ และการลงทุน อาทิ การการทดสอบพอร์ตสินเชื่อโดยการปรับราคาหลักประกันลดลงตามลำดับ เพื่อจะให้ทราบว่าระดับราคาใดที่ส่งผลให้มูลค่าหลักประกันไม่คุ้มหนี้

  5. การจำลองสถานการณ์ (Simulation)  ทำการจำลองสถานการณ์เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของราคา (ทั้งหลักประกัน และการลงทุน) เพื่อให้ทราบถึงผลที่เกิดขึ้น และความเพียงพอของเงินกองทุนเมื่อมีทำธุรกรรมเพิ่มขึ้นหรือจะทำธุรกรรมใหม่

  6. การแจ้งเตือน (Alert/Warning)  มีการเฝ้าติดตามเกี่ยวกับเหตุการณ์หรือปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบด้านลบต่อพอร์ตสินเชื่อ และการลงทุน พร้อมทั้งแจ้งเตือนต่อฝ่ายงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมหาทางรับมือหรือป้องกัน

  7. การรายงาน (Reporting)  รายงานการบริหารความเสี่ยงตามที่มีการติดตามด้านต่างๆ ตามกรอบที่กำหนดไว้สำหรับธุรกรรมสินเชื่อทั้งด้านเงินและหลักทรัพย์ รวมถึงการลงทุนของบริษัทจากการติดตามจากการทำธุรกรรมให้ผู้บริหารทราบเป็นรายวัน

  8. แผนสำรองฉุกเฉิน (Business Continuity Planning : BCP)  คณะทำงานบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ ซึ่งรับผิดชอบในการจัดทำ BCP เพื่อให้ธุรกิจสามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง และยังมีการทดสอบการติดต่อสื่อสารของพนักงานของบริษัท พร้อมทั้งทดสอบการปฏิบัติงานหลักของบริษัท ณ สถานที่ทำงานสำรองของบริษัท

  9. คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง (Risk Management Committee: RMC)  คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงประกอบด้วยคณะกรรมการบริษัท 2 ท่าน และกรรมการผู้จัดการ รวม 3 ท่าน โดยจะมีการประชุมเพื่อติดตามและพิจารณาความเสี่ยงของบริษัท อย่างน้อยไตรมาสละ 1 ครั้ง และนำเสนอ Product Program หรือระเบียนการปฏิบัติงานด้านการให้สินเชื่อและการลงทุน ให้แก่ RMC พิจารณาให้ความเห็นก่อนนำเสนอคณะกรรมการบริษัท

 

© 2014 บริษัทหลักทรัพย์ เพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ จำกัด (มหาชน)

bottom of page